วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

น้ำหล่อฮั่งก้วย แก้ร้อนใน สำหรับหน้าร้อน ที่ร้านบ้านยาหอม นครสวรรค์

   
     
      น้ำสมุนไพร ที่เหมาะกับหน้าร้อน แก้ร้อนใน  ได้แก่   หล่อฮั่งก้วย มีสรรพคุณในการแ้ก้ร้อนใน  แต่จริงๆ แล้ว   หล่อฮั่งก้วย ยังมีสรรพคุณมีมากมาย แต่ว่าหลายๆ คนไม่ได้พูดถึงกัน หล่อฮั่งก้วยเป็นส่วนผสมของน้ำสมุนไพรต่างๆ อย่างเช่น น้ำจับเลี้ยง และในบางร้านก็จะนำหล่อฮั่งก้วยผสมกับน้ำเก๊กฮวย ด้วย 

หล่อฮั่งก้วย อยู่ในตระกูลเดียวกันกับพวกแตง  และยังเป็นสมุนไพรพืชเมืองของประเทศจีน จะพบได้มากในมณฑลกว่างซี  ชื่อหล่อฮั่งก้วย เป็นภาษาจีน ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "อรหันต์"  จึงมีัหลายคนเรียก หล่อฮั่งก้วยว่า ลูกอรหันต์

สรรพคุณหล่อฮั่งก้วย
  1. แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
  2. ขับเสมหะ ช่วยทำให้ชุ่มคอ
  3. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  4. ช่วยยับยั้งการเป็นเนื้องอก
  5. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  6. ช่วยบรรเทาโรคไอกรน
  7. บรรเทาอาการหอบหืด
  8. ช่วยบรรเทาโรคหลอดลมอักเสบ

   วิธีต้มน้ำหล่อฮั่งก้วย
    1.   นำลูกหล่อฮั่งก้วย 1 ลูก  มาล้างทำความสะอาด แกะเปลือกออก ใช้เฉพาะเนื้อข้างในฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ
    2.  นำน้ำเปล่าใส่หม้อ (หม้ออลูมิเนียม ถ้าเป็นตราจรเข้ เบอร์ 22 ) จนเต็มขอบหม้อ
    3.  ใส่เนื้อหล่อฮั่งก้วย ลงในหม้อ ขึ้นตั้งไฟ ใช้ไฟอ่อนปานกลาง เคี่ยวจนน้ำแห้งงวด  ลงจากขอบหม้อประมาณ 1-2 ซม.
    4. เติมน้ำตาลทรายแดงเพิ่มความหวาน หรือไม่เติมก็ได้ เพราะน้ำหล่อฮั่งก้วย จะมีความหวาน หอม อ่อนๆ อยู่แล้ว
หมายเหตุ.  หล่อฮั่งก้วย ซื้อได้ตามร้านจำหน่ายยาแผนโบราณ ยาจีน ทั่วไป ราคาลูกละประมาณ 12-15 บาท  


                 ถ่ายรูป น้ำหล่อฮั่งก้วย  ซึ่งอาวโกว ต้มและแช่ตู้เย็น ไว้ให้ดื่ม ตอนมาที่ร้าน และแบ่งปั้นให้กับแขกผู้มาเยือน ได้ทดลองดื่มกัน ใส่น้ำตาลน้อยๆ  ดื่มแล้วชื่นใจ มีประโยชน์  แวะมาที่ร้าน อย่าลืมถามหา นะครับ ชิมฟรี


        ที่นั่งประจำเวลามาที่ร้าน  ลองแวะมานั่งชิมดู  ในจังหวัดนครสวรรค์ หาทานยากแล้ว คนทำน้อยเหลือเกิน     ร้านบ้านยาหอม จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่หลังธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครสวรรค์ โทร. 081-1725974 คุณนรินทร์ 


อาการปวดกล้ามเนื้อ



เกือบทุกคนคงต้องเผชิญกับการปวดกล้ามเนื้อ เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ถ้าอาการสามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน อาการปวดก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าปวดต่อเนื่องและเพิ่มความรุนแรงถี่ขึ้นเรื่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังมีอาการของ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธี จะทำให้ เกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคปวดศีรษะเรื้อรัง โรคไมเกรน โรคความดันโลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เป็นต้น

          แพทย์อายุรเวท แวร์สมิง แวหมะ ประจำศูนย์รักษาไมเกรน และโรคปวดเรื้อรัง Doctor Care บอกว่า ปัจจุบันมี ประชากรกว่า ร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน สาเหตุเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. เรียกว่า Trigger Point หรือ จุดกดเจ็บจำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังพืด  
  
          "อาการของโรคจะมีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน ความรุนแรงของการปวด มีตั้งแต่เมื่อยล้าพอรำคาญไปจนถึงทรมานจนไม่สามารถขยับบริเวณนั้นได้ บางกรณีมีอาการมือชาและขาร่วมด้วย บางรายมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับหรือมีอาการผิดปกติของโครงสร้างร่างกาย เช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังงอ คอตก ขาสั้นยาว ไม่เท่ากัน"

          แพทย์อายุรเวทแวร์สมิง บอกอีกว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังเกิดจาก ท่านั่งทำงานไม่เหมาะสม ลักษณะงานที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ การทำงานที่มีการใช้กล้ามเนื้อท่าเดียวกันซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป ขาดการพักผ่อน รวมถึง การขาดการบริหารกล้ามเนื้อ สำหรับการรักษา มีวิธีรักษาที่เรียกว่า Trigger Point Therapy รักษาเพียงอาทิตย์ละครั้ง ประมาณ 4-6 ครั้ง เป็นการรักษาที่ตัดวัฏจักรการปวด ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการสลายจุด Trigger Point และ ป้องกันการกลับมา โดยการให้ความรู้ในการทำงานที่ถูกต้อง และการดูแลกล้ามเนื้อ

          "เพื่อไม่ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังกลับมาเป็นอีก ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหารกล้ามเนื้อสม่ำเสมอ เช่น ฝึกการยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัวบนต้นแขนและคอ โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน และด้านโยกไปด้านซ้ายและขวา

          "หรือการยืดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัว หลังต้นขาและกล้ามเนื้องอ เช่น ประสานมือเข้าด้วยกัน แล้วยืดมือออกไปด้านบน จากนั้นค่อยๆ โยกลำตัวไปด้านข้างจนเอวรู้สึกตึง สลับไปอีกข้าง และรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง" 
ข้อมูลจาก มติชนออนไลน์


ชา กับความเป็นมา จากร้านบ้านยาหอม จ.นครสวรรค์



             ชา ถือกำเนิดมาจากพืชตระกูล Camelliea มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Camelliea sinensis ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ใบแหลมสีเขียว ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ส่วนที่นำมาเป็นเครื่องดื่มจะอยู่บนสุด เป็นตำแหน่งของการผลิใบอ่อน และการแตกหน่อ ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุด แต่ถึงจะมาจากพืชตระกูลเดียวกัน ก็ยังมีหลากหลาย
              แบ่งได้ 4 ประเภท แตกต่างไปตามกรรมวิธีการหมักบ่ม หรือการผลิต  ได้แก่
      1.)  ชาขาว คือ ชาที่ได้จากการเลือกเก็บยอดชาที่อ่อนมาก คือ ยังมีขนเล็ก ๆ สีขาวปกคลุมยอดชาอยู่ ใบชาจะคงสภาพเหมือนใบชาสดและมีสีขาว น้ำที่ชงจากชาขาวจะมีสีใสๆ ถึงสีเหลืองอ่อน มีลักษณะใกล้เคียงกับชาเขียว ในแต่ละปีจะเก็บเกี่ยวยอดชาเพื่อนำมาผลิตชาขาวได้ในบ างวันเท่านั้น
       2.)  ชาเขียว คือ ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก ในระยะเวลาสั้น การผลิตชาเขียว ทำโดยนำใบชาที่เก็บมาได้ มาผ่านไอน้ำหรือความร้อน  เพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทันที จากนั้นนำไปกลิ้งด้วยลูกกลิ้งและทำให้แห้งอย่างรวดเร ็ว ใบชาที่ได้จึงยังคงมีสีเขียว  ในชาเขียวจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันรอยเหี่ยวย่น สีผิวด่างดำ และแห้งกร้าน
       3) ชาอูหลง  คือ ชาที่ผ่านกระบวนการผลิตด้วยการหมักแต่เพียง 10-80 เปอร์เซ็นต์ คือระยะเวลาการหมักนานกว่าชาเขียว ชาประเภทนี้จะมีสีและกลิ่นมากกว่าชาเขียวขึ้นมาหน่อย รสชาติเข้มข้นและมีกลิ่นหอม เมื่อดื่มจะให้รสฝาด และขมเล็กน้อย ชุ่มคอ 
        4.) ชาอังกฤษ  เป็นชาที่ติดอันดับยอดนิยม ผู้คนนิยมดื่มกันทั่วโลก โดยเฉพาะแถบยุโรป คนไทยบางคนเรียกว่า ชาฝรั่ง การผลิตจะนิยมใช้ชาพันธุ์ ดีมีสารโพลีพินอลสูง ดีต่อสุขภาพ โดยเริ่มจากการนำใบชาไปหมักด้วยระยะเวลานานก่อให้เกิดการหมักอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้สีและรสชาติที่เข้มข้นมาก น้ำชาเป็นสีส้มหรือน้ำตาลแดง
     สรุป  ได้ว่า ใบชาที่เก็บมาจากยอดชาจะเรียกว่าชาขาว เมื่อผ่านการหมักในระยะเวลาสั้นๆจะเรียกว่าชาเขียว หากหมักระยะเวลานานขึ้นมาหน่อย จะมีสีเข้มขึ้น เรียกว่า ชาอูหลง ส่วนชาที่มีความเข้มข้นที่สุดเพราะผ่านการหมักบ่มอย่ างยาวนาน ก็คือ ชาอังกฤษ